วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
                  
                           สยุมพร  ศรีมุงคุณ (2553)นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด  คือ 
                  ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
                  ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
                  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง    หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง  ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
                  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
                  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
                  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้  คือ  การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ


กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
      มัณฑรา  ธรรมบุศย์(...) ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) จิตวิทยา กลุ่มมนุษย์นิยมพัฒนาขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1940 โดยเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีขึ้นด้วยการศึกษาถึง การรับรู้ของบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ความคิดส่วนตัวที่เขามีต่อบุคคลอื่นและโลกที่เขาอาศัยอยู่ และยังมีความเชื่อว่า มนุษย์ เรามีคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เราแตกต่างไปจากสัตว์คือมนุษย์เรามีความมุ่ง มั่นอยากที่จะเป็นอิสระ เราสามารถกำหนดตัวเองได้และเรามีพลังจูงใจ (Motivational Force) ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สมบูรณ์ขึ้น ที่แสดงถึงความเป็นจริงแห่งตน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ให้เต็มที่ (Self Actualization)

         ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987) และ แมสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908-1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและสังคมประชาธิปไตย ได้ชื่อว่า พลังที่สาม (the third force) ซึ่งบางคมเรียกว่า คลื่นลูกที่สาม (the third wave) ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
                1 มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัวไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
                2 มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาเอง
                3 ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่สู้จำเป็นนักสำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาตนจึงอยู่ที่การยอมรับตนเองและผู้อื่นให้ได้ก่อน
                4 บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเองควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำเลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตนเอง (self mastery) เป็นการ ออกแบบชีวิตที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา
                5 วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือตัวข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของบุคคลมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้ ไม่ใช่เน้นที่ตัวความรู้เพียงอย่างเดียว

         แนวคิดจากกลุ่มมนุษย์นิยมที่อาจนำไปใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพ เลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจ ให้เสรีภาพในการคิด การทำเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเน้นให้บุคคลมองบวกในตน ยอมรับตนเอง และนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง สร้างสรรค์สิ่งดีให้ตนเอง ซึ่งเป็นฐานทางใจให้มองบวกในคนอื่น ยอมรับคนอื่นและสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ผู้อื่นและสังคม กับทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมด้วย
         หลักความเชื่อและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยมดังกล่าว มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ปัญหาสังคมในบ้านเมืองเราขณะนี้ โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าหากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่ม เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจและตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่มมนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดยให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเองและเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่นปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดีทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยามนุษยนิยม 
        ในปี ค.ศ.1954 อัมบราฮัม มาสโลว์ ได้เริ่มคิดเกี่ยวกับจิตวิทยามนุษยนิยม เพราะมาส โลว์เกิดความคิดว่าจิตวิทยาสกุลต่าง ๆ ลืมที่จะพูดถึง การทำงานของคนที่ปกติ” (healthy human being’s functioning) “การดำเนินชีวิต” (mode of living) และ จุดมุ่งหมายของชีวิต” (goals of life) มาสโลว์จึงเสนอจิตวิทยามนุษยนิยมในฐานะทางเลือกที่ 3 นอกเหนือจากจิต วิเคราะห์และพฤติกรรมนิยม ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมาได้มีเสียงคัดค้านความคิดเห็นของ 2 กลุ่มนี้ ผู้ที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มมนุษยนิยมมีความรู้สึกว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยม โดยเฉพาะที่นำเสนอโดยสกินเนอร์เป็นสิ่งที่เย็นชา แคบ และขาดความเข้าใจในความเป็น มนุษย์ โดยมองว่าพฤติกรรมนิยมลดบทบาทของความเป็นมนุษย์ลงมาเป็น หนูขาวตัวใหญ่ หรือเครื่องคำนวณที่ช้า ๆเท่านั้น กลุ่มพฤติกรรมนิยมไม่ได้ให้ความสนใจกับคุณภาพและ ศักยภาพของมนุษย์ ซึ่งแยกมนุษย์ออกจากการทดลองในห้องทดลองของหนู นกพิราบหรือลิง และขณะเดียวกันจิตวิทยามนุษยนิยมวิจารณ์ว่าจิตวิเคราะห์สนใจศึกษาแต่คนที่มีปัญหาโดย การมุ่งสนใจแต่คนที่ไม่ปกติเท่านั้น มาสโลว์จึงตั้งคำถามว่าจิตวิเคราะห์จะศึกษาความปกติ ของคนอย่างไร ? มาสโลว์พูดไว้ว่า ถ้าศึกษาแต่คนที่ไร้ความสามารถ เติบโตช้า ไม่มีวุฒิภาวะ และสุขภาพไม่ดี จะได้ผลแต่จิตวิทยาและปรัชญาที่ไร้ความสามารถเท่านั้นในปี ค.ศ.1961 ได้ เกิด Journal of Humanistic Psychology และในปี ค.ศ.1962 ได้มีการก่อตั้ง American

มนุษยนิยมในระยะเริ่มต้น 
        ถึงแม้ว่าแนวคิดของจิตวิทยามนุษยนิยมจะเริ่มต้นจากงานเขียนของมาสโลว์และโร เจอร์สแต่ได้รับการปูพื้นฐานมาก่อนแล้ว แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย เรอเนซองต์หรือแม้แต่ก่อนหน้านั้นในลักษณะของการให้ความสนใจกับการมีชีวิตอยู่โดยไม่ เกี่ยวข้องกับเรื่องของโชคชะตาหรือเคราะห์กรรม มนุษย์ไม่ใช่เป็นผลของความไม่เห็นแก่ตัว และความใจบุญเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ ปัจเจกชน” (individualism : ปัจเจกชนที่มีอิสระสิทธิ และเสรีภาพทั้งความคิดและการกระทำ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ อย่างแท้จริง ซึ่งความเป็น มนุษย์ที่เรียกในปัจจุบันวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเขียนและ ความรู้ที่ถูกนำเสนอไว้ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณในภาษาลาตินรวมทั้งในปรัชญา ซึ่งกลายมาเป็น สิ่งที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 

วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) 
        จากงานเขียนทุกเล่มของโรลโร่ เมย์ (Rollo May) ซึ่งเขียนถึงงานเขียนของเจมส์ที่ เจมส์มองดูตนเองในฐานะของความเป็น มนุษย์” (Human being) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความ สนใจของเจมส์กับเรื่องของปัญหาชีวิต ซึ่งแต่ละปัญหาที่เจมส์พูดถึงนำไปสู่คำถามในภายหลัง ว่าเจมส์จัดการอย่างไรกับปัญหาเหล่านั้น แนวคิดและทฤษฏีของเจมส์ที่เน้นการปฏิบัติได้ (pragmatism) สะท้อนให้เห็นความกระตือรือร้นที่ให้ความสนใจกับความต้องการของมนุษย์ อิทธิพลโดยตรงที่ได้รับจากเจมส์คือ ทฤษฏีเกี่ยวกับ Self ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ Principle of Psychology (1890 pp. 108-109) ซึ่งทฤษฏีเกี่ยวกับ Self ในปัจจุบันต่างได้รับอิทธิพลไม่ ทางตรงก็ทางอ้อมจากงานเขียนนี้ เจมส์ได้แบ่ง Self ออกเป็นลำดับขั้น (hierarchy) โดยเริ่ม จาก 1. material self   2. the social self or selves  3. the spiritual self และ  4. the Pure Ego และในข้อสุดท้ายนี้เป็นสิ่งที่ตรงกับของนักทฤษฏี self ในปัจจุบันมากที่สุด 
            material self หมายถึง ร่างกายของคน ๆ หนึ่ง เพื่อนและทรัพย์สินต่าง ๆ 
            social self หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือบุคคลอื่น 
            spiritual self หมายถึง การทำงานและศักยภาพของจิตใจ 
        Pure-ego เป็นสิ่งซึ่งเจมส์อธิบายได้ยากมากและกลายเป็น “I” หรือ self ในฐานะ ผู้รู้” (knower) ในขณะที่อีก 3 อย่างเป็น self ในฐานะ “me” หรือในฐานะ เข้าใจ รู้จัก” (known) ซึ่ง กลายเป็นชนิดของการรับรู้ คือ “soul” (kind of knowing soul)

ทฤษฏีที่เกี่ยวกับ self อื่น ๆ 
        “self” ได้เข้ามามีส่วนในจิตวิทยามนุษยนิยมโดยเฉพาะในแนวคิดของคาร์ล โรเจอร์ส แต่ยังมีนักจิตวิทยาที่กล่าวถึง self ไว้อีกหลายคน เช่น ยอร์จ เฮอร์บาร์ด มี๊ด (George Herbert Mead) จากหนังสือ Mind, Self and Society (ค.ศ.1934) ซึ่งกล่าวถึง self ในฐานะที่เป็นผู้รับรู้ (awareness) มากกว่าที่จะเรื่องของกระบวนการหรือการกระทำ เมื่อแรกเกิดคนเรายังไม่มี “self” เมื่อ self เกิดขึ้นในจิตสำนึกทำให้คน ๆ นั้นจะรับรู้หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอก ตัวเอง คน ๆ นั้นเรียนรู้ที่จะคิด มีทัศนคติ มีความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเอง และสังคมภายนอกมี บทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคน ๆ นั้นด้วย มี๊ดคิดเหมือนเจมส์ว่าถ้าคน ๆ นั้นอยู่ใน สังคมที่ต่างออกไป ก็จะพัฒนาเปลี่ยนไปตามสังคมที่คน ๆ นั้นอยู่ร่วมด้วย 
        นอกจากนั้นแล้วสนิกก์และคอร์ม (Snygg and Coombs) ยังได้กล่าวถึงเรื่องของ self เหมือนกับแนวคิดของเกสตัลล์ในเรื่องขอ phenomenological field (ปรากฏการณ์ตามธรรม- ชาติที่รับรู้ได้โดยประสาทสัมผัส) ซึ่งประกอบด้วยประสบการณ์ทุกอย่างของคน ๆ นั้นใน ขณะนั้น และสิ่งที่คน ๆ นั้นจะกระทำอะไรในขณะนั้น 

แนวคิดพื้นฐานของจิตวิทยามนุษยนิยม 
        ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นจิตวิทยามนุษยนิยมเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวไม่ใช่เรื่องของ แนวคิดที่เคร่งครัดของคนใดคนหนึ่งหรือของกลุ่มคนบางกลุ่ม ดังนั้นแนวคิดของนักจิตวิทยา มนุษยนิยมอาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่มีบางส่วนที่เหมือนกันที่ทำให้จับกลุ่มเข้ามาด้วยกัน 
        รากฐานของจิตวิทยามนุษยนิยมเริ่มจากงานเขียนเล่มแรกของโรเจอร์ส “Counseling and Psychotherapy : Newer Concepts in Practice” (ค.ศ.1942) ซึ่งโรเจอร์สได้แนะนำการ ทำจิตบำบัดแบบ non-directive approach ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้บำบัดไม่ได้เป็นผู้ให้คำแนะนำ แต่เป็นผู้สะท้อนความรู้สึกที่คนไข้แสดงออกมาซึ่งงานของโรเจอร์สตามด้วยหนังสือ Client Centered Therapy : Its Current Practices, Interpretation and Therapy (ค.ศ.1951) 
        ในปี ค.ศ.1967 สมาคมนักจิตวิทยามนุษยนิยมได้ตีพิมพ์เรื่องของจิตวิทยามนุษยนิยม ซึ่งบูลเลอร์และอัลเลน (Buhler and Allen, ค.ศ.1972) ได้นำเสนอไว้ 
            1. จิตวิทยามนุษยนิยมให้ความสนใจกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งแรก เหตุการณ์อื่นการอธิบายทฤษฏีและพฤติกรรมเป็นลำดับที่สองต่อจากประสบการณ์และมี ความหมายต่อแต่ละคน 
            2. เน้นในเรื่องของคุณภาพของมนุษย์ เช่น ทางเลือก ความคิดสร้างสรรค์ การประเมิน และการเข้าใจตนเองแทนการมองว่ามนุษย์เป็นผลผลิตหรือเครื่องจักร
            3. เน้นให้ความสำคัญกับการเลือกปัญหาที่จะศึกษาเครื่องมือการวิจัยเป็นสิ่งที่ไม่เห็น ด้วยที่จะใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือในการศึกษาประสบการณ์ที่สำคัญ ๆ 
            4. ให้คุณค่ากับเกียรติของความเป็นมนุษย์และสนใจการพัฒนาศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิด ของแต่ละบุคคล 

ชาร์ล๊อต บูลเลอร์ (Charlotte Buhler, ค.ศ.1971) 
        ผู้นำคนหนึ่งของจิตวิทยามนุษยนิยมได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของจิตวิทยามนุษย- นิยมไว้โดยเน้นสิ่งต่อไปนี้ 
            1. คนเป็นทั้งหมด (the person as a “whole”) เป็นแนวคิดหลักของจิตวิทยามนุษย- นิยม ซึ่งแน่นอนแนวคิดนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ของทฤษฏีทางจิตวิทยา จิตวิทยาเอ็กซีสเตนเชิลก็มองคน ในฐานะเป็น หนึ่ง” (unity) แต่ทิศทางของจิตวิทยามนุษยนิยมจะเน้น ความเข้าใจ” (understanding) มากกว่าการ อธิบาย” (explaining) สำหรับมาสโลว์ คนแต่ละคนถูกมองในฐานะ “unique individual” แต่ไม่ใช่สิ่งที่แอดเลอร์เรียกว่าจิตวิทยาแต่ละบุคคล (Individual Psychology) 
            2. จิตวิทยามนุษยนิยมจะให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทั้งหมดของมนุษย์ ซึ่ง จะเป็นสิ่งที่เหมือนกับที่ทางจิตเวชและจิตวิทยาคลินิกได้นำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของประวัติ ความเป็นมาของคนไข้ นักศึกษาที่ศึกษาจิตวิทยาอปกติจะให้ความสนใจกับ วิธีการศึกษา ประวัติเป็นรายกรณี” (case history method) ในฐานะที่จะทำให้เข้าใจปัญหาของคน ๆ นั้น รวมทั้งการศึกษาวงจรชีวิตด้วย 
            3. การดำรงอยู่และความมุ่งมั่น (intention) ของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งส่วนนี้เป็น ส่วนที่บูลเลอร์เห็นเช่นเดียวกับนักจิตวิทยากลุ่มเอ็กซีสเตนเชิล แต่จิตวิทยามนุษยนิยมจะให้ ความสนใจกับความมุ่งมั่นหรือ intention มากกว่า นั่นคือการให้ความสนใจอย่างมากกับเรื่อง ของประสบการณ์ของคน ๆ นั้น 
            4. จุดมุ่งหมายของชีวิตมีความสำคัญเท่าๆ กัน จิตวิทยามนุษยนิยมไม่ใช่จะให้ความ สนใจแต่เฉพาะการสนองตอบความพึงพอใจทางร่างกายหรือเติมเต็มตามสัญชาติญาณ (instincts) ของฟรอยด์เท่านั้น แต่การเข้าใจตนเอง (self-realization หรือ self - actualization) เป็นจุดมุ่ง- หมายของชีวิต ซึ่งแนวคิดนี้ถูกแนะนำเป็นครั้งแรกโดยจุง (Jung) และกลายเป็นสิ่งสำคัญของ ทฤษฏีบุคลิกภาพของทั้งมาสโลว์และโรเจอร์ส การบรรลุสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตเพื่อไปสู่ความ เข้าใจตนเอง (fulfillment of the goal of self realization)นอกจากนี้แล้วยังมีนักจิตวิทยามนุษย นิยมหลายคนที่เน้นเรื่องความขัดแย้งพื้นฐานของชีวิต (basic life conflicts) แต่บูลเลอร์เน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการแก้ปัญหา
            5. ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ (man’s creativity) เป็นอันดับแรกของจิตวิทยามนุษย- นิยม ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นสิ่งที่มีผลต่อการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การ แสดงออกของคน ๆ นั้น (self-expression) และเกี่ยวข้องกับการมองหาจุดมุ่งหมายของคน ๆ นั้นด้วย แอดเลอร์ (Adler) เน้น “creative self” ส่วนฟร็อม (Fromm) พูดถึงเรื่องของความคิด สร้างสรรค์ในฐานะของ “productivity” 
            6. จิตวิทยามนุษยนิยมได้ถูกนำไปประยุกต์กับจิตบำบัดโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้ เกิดความเข้าใจตนเอง (self-understanding) และกระบวนการในการทำจิตบำบัดเพื่อนำไปสู่ การเข้าใจคนอื่นด้วย 

The Self (or Person - Centered) ทฤษฏีของ คาร์ล โรเจอร์ส 
        ในกลุ่มของนักจิตวิทยามนุษยนิยมในปัจจุบันไม่มีใครโดดเด่นเท่ากับคาร์ล โรเจอร์ส ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงแยกออกมาอย่างชัดเจน โดยที่เรียกการทำจิตบำบัดว่า “Client- Centered” ส่วนทฤษฏีที่โรเจอร์สพัฒนาขึ้นมานั้นเรียกว่า “self theory” และเรียกตัวโรเจอร์สว่า เป็น “a person – centered theorist” 
คาร์ล โรเจอร์ส (1902-1988) เกิดที่โอคปาร์ค อิลลินอย เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ.1902 ตั้งใจที่จะเป็นพระหลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี ค.ศ.1924 และได้ ย้ายไปเรียนครูที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและได้รับปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1931และสอนที่มหา- วิทยาลัยโอไฮโอ สเตรท มหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และเป็นสมาชิกของ Western Behavioral Science Institute ในแคลิฟอร์เนีย โรเจอร์สเหมือนกับฟรอยด์ จุง แอด- เลอร์ และอื่น ๆ ที่ทฤษฏีเริ่มจากประสบการณ์ของการเป็นนักจิตบำบัด วิธีการทำจิตบำบัดของ โรเจอร์สเริ่มจากหนังสือ ของโรเจอร์สเองคือ Counseling and Psychotherapy (ค.ศ.1942) Client-Centered Therapy (ค.ศ.1951) กระบวนการในการทำจิตบำบัดของโรเจอร์สเริ่มจาก การที่ให้ผู้รับการบำบัด (ซึ่งโรเจอร์สชอบที่จะเรียกว่า Client มากกว่า patient) เพิ่มความสนใจ (aware) กับความรู้สึกและประสบการณ์ของตนเองให้มากขึ้นและจัดว่าเป็นวิธีการทางอ้อม (nondirective approach) เพราะผู้บำบัดจะไม่ให้คำแนะนำโดยตรงแต่จะสะท้อนความรู้สึกของผู้รับ การบำบัดเหมือนกับที่ผู้รับการบำบัดแสดงออกมา ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นและเป็นมิตรเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นเพราะผู้บำบัดจะไม่ผลักดันหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้รับการบำบัด ซึ่งทฤษฏีของโรเจอร์สได้ ปรากฏเป็นครั้งแรกใน Client Centered Therapy (ค.ศ.1951) และของเอสโคช (S.Koch) ใน Psychology : The Study of a Science เล่ม 3 และของโรเจอร์สใน On Becoming a Person (ค.ศ.1961) และใหม่สุดบทที่เขียนโดยโฮลสต๊อกและโรเจอร์สในหนังสือของอาร์ คอซินี่ (R.Corsini) Contemporary Theories of Personality

The Organism and the Self 
        แนวคิดของโรเจอร์สเกี่ยวกับ organism แปลความค่อนข้างยากเพราะในขณะที่ทั่วไป ในความหมายทางจิตวิทยา จะใช้คำนี้โดยหมายถึงลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ที่ตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับโรเจอร์สคำว่า organism หมายถึง ประสบการณ์ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล ณ เวลาหนึ่ง (totality of experiences going on in the whole individual at a particular time) ซึ่งประสบการณ์นี้ประกอบกันขึ้นเป็น phenomenal field ซึ่ง เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายในของคน ๆ นั้นและคนภายนอกไม่สามารถที่จะรับรู้ได้ สิ่งนี้ กลายเป็นความจริงที่เป็นนามธรรม ประสบการณ์ที่มีอยู่นี้อาจมาจากทั้งภายในและภายนอก ของคน ๆ นั้น และจากประสบการณ์ทั้งหมด (totality of experiences) นี้ทำให้ “self” เกิดขึ้น ซึ่งโรเจอร์สให้คำจำกัดความของ self เอาไว้ว่า เป็นลักษณะรวมทั้งหมดของลักษณะการรับรู้” I หรือ me และการรับรู้ความสัมพันธ์ของ I หรือ me ที่มีต่อผู้อื่นและรวมทั้งชีวิตและคุณค่าที่มา กับการรับรู้นั้น อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง organism กับ self ? self เกิดขึ้นใน organism โดยปกติแล้วคนที่มีการปรับตัวดี ประสบการณ์ที่มีหรือเกิดขึ้นใน self จะเป็นเช่นเดียวกับ ประสบการณ์ของ organism ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าทั้ง 2 อย่างเข้ากันไม่ได้ผลที่เกิดคือความ กระวนกระวายใจและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ จะเกิดขึ้น เกิดพฤติกรรมต่อต้านขึ้น และอาจจะเป็นไปได้ ที่เกิดความไม่เหมาะสมระหว่าง organism (phenomenal field) และความเป็นจริง 
        ในโลกของประสบการณ์ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งจะอยู่ในจิตสำนึก ในจิตใต้สำนึกจะมีการ ประเมินประสบการณ์ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีด้วย ในเด็กทารกจะให้คุณค่าของอาหารในฐานะที่ เป็นสิ่งที่ดี ถ้าเด็กคนนั้นหิว แต่ประสบการณ์ที่เกี่ยวความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายตัว จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ในกระบวนการในการตัดสิน (orgnismic valuing process) นี้ใน ส่วนของจิตใต้สำนึกจะประเมินหรือตัดสินประสบการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น รวมทั้งประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นในจิตสำนึกด้วย ซึ่งคุณค่าเหล่านี้จะเป็นตัวบอก “self – actualization” ซึ่งโรเจอร์ส เชื่อในประสบการณ์นี้มากกว่าที่ได้จากการตัดสินที่เกิดขึ้นในจิตสำนึก ซึ่งโรเจอร์สยอมรับว่า มันอาจจะผิดพลาดได้แต่โรเจอร์สเชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้จะน้อยกว่าที่เกิดจากการ ตัดสินของจิตสำนึกของเราเอง 

Self – Actualization 
        เรื่องของ self – actualization เป็นเรื่องที่นักจิตวิทยามนุษยนิยมส่วนใหญ่มีความเห็น ร่วมกัน โรเจอร์สเชื่อว่าคนแต่ละคนจะมีแนวโน้มที่จะทำตามศักยภาพเฉพาะของตนเอง ซึ่งจะ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะดำรงและเพิ่มคุณค่าแก่ตนเอง self-actualization เป็น เหมือนกับตัวบังคับที่เกิดขึ้นในพันธุกรรมของมนุษย์ให้มีการเจริญเติบโต เหมือนกับมาสโลว์
        ในกระบวนการเจริญเติบโตของมนุษย์ (human growth) self-actualization จะเริ่มจาก ง่ายไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งส่วนของการเจริญเติบโตจะรวมถึงความคิดสร้างสรรค์ด้วย เริ่มแรก นั้น self จะต้องสร้างและกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในรูปของศิลปะ การประดิษฐ์ การ เขียนหนังสือ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อธุรกิจ การเมืองและกลุ่มสังคมต่าง ๆ ยิ่งคนมีประสบการณ์ มากเท่าไหร่ self จะกระทำได้ดีขึ้นเท่านั้น นั่นคือมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นไปอีก จะเห็น ว่า self-actualization จะเหมือนกับของจิตวิเคราะห์ในรูปของแรงขับ (dynamic force) คนไม่ ควรที่จะหยุดนิ่งแต่เดินหน้าตลอดเวลา ซึ่งจะไม่เหมือนฟรอยด์ซึ่งมองหรือให้ความสำคัญกับ อดีตของมนุษย์ โรเจอร์สมีความรู้สึกว่าการเติมเต็มตัวเอง (self-fulfillment) ไม่ใช่เป็นผลที่ เกิดขึ้นจากอดีตเท่านั้น และมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์เหมือนที่พวกพฤติกรรมนิยมเชื่อ แต่มนุษย์มี อิสระที่จะดำเนินกระบวนการของ self-actualization นอกจากนั้นแล้วโรเจอร์สยังเชื่ออีกว่า มนุษย์เราแต่ละคนที่เกิดมาพร้อมกับความฉลาดซึ่งทำ ให้สามารถที่จะแยกระหว่าง ประสบการณ์ที่ดีหรือประสบการณ์ที่ไม่มีศักยภาพ (ไม่ดี) ได้สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ กระบวนการ self-actualization คือ positive regard และ positive self-regard ซึ่งสิ่งนี้จะ พัฒนาขึ้นในเด็กในฐานะของ self-concept ซึ่งจะเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับการยอมรับและความรัก ที่ให้โดยคนสำคัญ ๆ ในชีวิต เช่น พ่อ-แม่ คนสำคัญอื่น ๆ เพราะต้องการที่จะถูกรักและสัมผัส แตะต้อง 
        โรเจอร์สได้แยกระหว่าง conditioned และ unconditioned regard ใน unconditioned positive regard เป็นการยอมทุกอย่างทั้งหมดจากสมมุติฐาน พ่อแม่และคนสำคัญอื่น ๆ จะ ตอบสนองต่อเด็กในลักษณะของ conditioned positive regard นั่นคือการที่พ่อแม่ให้ความรัก ความสนใจ และยอมรับเฉพาะถ้าเด็กมี self-concept ตามแบบที่พ่อแม่ต้องการ เด็กจะเสี่ยง กับการไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลเหล่านี้ ถ้าเด็กมีพฤติกรรมต่างจากที่บุคคลเหล่านี้ คาดหวัง โดยปกติแล้วความต้องการที่จะได้รับการยอมรับ (positive regard) เป็นสิ่งสำคัญ มากจนเด็กจะเลือกที่จะทำตามความคาดหวังของคนเหล่านี้และแน่นอนเด็กจะรับ (introject - มาจากของฟรอยด์)มาตรฐานเหล่านี้เข้ามาเป็น self-concept ของตัวเอง 
พัฒนาการสุดท้ายคือสิ่งที่โรเจอร์สเรียกว่า fully functioning person คือผู้ที่มีประสบ- การณ์และมี unconditional positive self regard ซึ่งเป็นเหมือนความคิดของ self-acceptance ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นความคิดหรือทฤษฏีเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพราะเป็นผลมาจาก unconditioned

ความแตกต่าง ระหว่าง Organism และ Self 
        เมื่อคนเราเติบโตขึ้นจะมีการพัฒนาความแตกต่างระหว่างประสบการณ์จริง (organism) กับ self นั่นหมายความว่าประสบการณ์ที่ได้รับจะแตกต่างจาก self-concept สิ่ง ที่เข้ามาหรือได้รับมา (ประสบการณ์) อาจจะผิดปกติหรือไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งประสบการณ์นี้จะ เข้ามาสู่การรับรู้ของคน ๆ นั้น เมื่อความแตกต่างระหว่าง organism และ self เกิดมากขึ้น ผล ที่จะเกิดคือเกิดความกระวนกระวายใจ รวมทั้งสิ่งไม่ปกติต่าง ๆ กลไกป้องกันตนเองที่จะ เกิดขึ้น ได้แก่ การปฏิเสธ หรือ denial ซึ่งทำให้ self-concept ผิดไปและมีผลหรืออิทธิพลต่อ ความสัมพันธ์ของคน ๆ นั้นกับคนอื่น ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตัวที่ผิดปกติ ถ้าความแตกต่าง ระหว่าง organism และ self มีมากขึ้นเท่าใดการใช้กลไกป้องกันตนเอง เช่น denial จะไม่ได้ ผล self-concept จะเกิดอารมณ์และอาจควบคุมไม่ได้ผลคือทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ พอ ถึงตรงนี้ต้องนำเอาจิตบำบัดเข้ามาช่วย 

ผู้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มความสามารถ (The Fully Functioning Person) 
        คนที่มีลักษณะของ fully functioning person หมายถึงคนที่ไม่ต้องใช้กลไกป้องกัน ตนเอง เช่น การปฏิเสธ (denial) การเก็บกด (repression) และอื่นๆ เป็นคนที่สามารถที่จะ แสดงออกถึง positive self-regard ตัวตนของคน ๆ นั้นจะเป็นคนที่มีหรือรับประสบการณ์ของ ตนเองอย่างเต็มที่ จะไม่มีความกระวนกระวายใจ (anxiety) ไม่จำเป็นต้องมีกลไกป้องกันตนเอง ประสบการณ์สามารถเข้ามาสู่ตนเองได้โดยตรง กระบวนการทั้งหลายจะไม่มีคำว่า ควรจะและ อาจจะสิ่งใดที่ผิดจะถูกแก้ไขทันทียอมรับความผิดพลาดต่าง ๆ โดยใช้ศักยภาพของ ตนเองตามที่มีอยู่ในตัวเองอย่างเต็มที่ ในคนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะไม่ซ่อนตัวเองอยู่ภายใต้ การยอมรับของสังคม จะเชื่อถือประสบการณ์ของตนเองและอยู่ด้วยการมองเห็นคุณค่าของ ตนเอง กล้าที่จะแสดงออกหรือประพฤติในลักษณะเฉพาะของตนเองและยอมรับตนเอง

สรุปได้ว่าลักษณะของคนที่ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มความสามารถ (fully function person) มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ คือ 
        1. เปิดรับประสบการณ์ทุกอย่าง (open to experience) หมายถึง ยอมรับอารมณ์ (ทั้ง ที่เป็นส่วนที่ดีและไม่ดี) ทุกประเภทที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการปฏิเสธ ไม่มีการใช้กลไกป้องกัน ตนเอง ไม่ปฏิเสธประสบการณ์ต่าง ๆ รับประสบการณ์สิ่งต่าง ๆ เข้ามาสู่ชีวิตอย่างเต็มที่ 
        2. มีชีวิตชีวา (existential living) รับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาใช้ชีวิตตามที่เกิดขึ้น จริงๆ หลีกเลี่ยงการมีอคติต่าง ๆ หรือไม่ตัดสินต่าง ๆ ไปล่วงหน้าถ้าสิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้น 
        3. เชื่อในสัญชาติญาณหรือความคิดของตนเอง (trust their intuition) เป็นคนที่เชื่อใน ความรู้สึกของตนเองไม่เกี่ยวกับสัญชาติญาณและทำไปตามอะไรก็ตามที่รู้สึกว่าถูกต้อง แทนที่ จะเสียเวลาในการวิเคราะห์หรือคิดแล้วคิดอีก 
        4. ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) มีบทบาทสำคัญในชีวิตและกล้าที่จะเสี่ยงในการ กระทำหรือตัดสินใจ ปรับตัวเพื่อเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ท้าทาย มีอิสระจากความกดดันและมั่นใจในการแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเอง 
        5. มีความเป็นอิสระ (Experiential freedom) ในการที่จะทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้น รวมถึงความสุข ความสนุกสนานและพร้อมที่จะเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะประสบ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวมากกว่าที่จะวิ่งหนีและถูกคาดหวังว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการ ตัดสินใจในการกระทำของตนเองด้วย 
หลักฐานหรือข้ออ้างอิง (Evidence) 

        จากการที่กลุ่มจิตวิทยามนุษยนิยมไม่ได้นำวิธีการทางการทดลองหรือวิจัยหรือไม่ได้มี การทดลองมาใช้ในการศึกษาเลยโดยเฉพาะแนวคิดของโรเจอร์ส แต่อย่างไรก็ตามคนที่เห็น ด้วยกับแนวคิดของโรเจอร์สได้ชี้ให้เห็นว่ามีหลักฐานหรือข้ออ้างอิงที่สนับสนุนแนวคิดของโร เจอร์ส ถึงแม้ว่าการศึกษานั้นอาจจะสนับสนุนโดยตรงหรือไม่ตรงกับทฤษฏีของโรเจอร์สส่วนที่ จัดได้ว่าสนับสนุนแนวคิดของโรเจอร์ส แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้วยกันคือ 
            1. Q-Sort method 
            2. Content Analysis of therapeutic interviews 182 PC 460 

Q – Sort 
        จุดประสงค์ของวิธีการ Q-Sort คือการพยายามค้นหาความคิดเห็นของคน ๆ นั้นเกี่ยว กับตนเองโดยให้แผ่นข้อความแก่คน ๆ นั้น ซึ่งแผ่นข้อความจะมีข้อความที่มีความแตกต่างกัน และให้คน ๆ นั้นเลือกข้อความจากแผ่นเหล่านั้นที่คิดว่าตรงกับที่เป็นตัวเขามากที่สุด โดยให้ การเลือกหาแผ่นข้อความโดยแยกเป็น แผ่นแรกดูว่าคน ๆ นั้นรับรู้ตนเองอย่างไร (self - sort) และคน ๆ นั้นต้องการเป็นอย่างไร (ideal-sort) และจากการศึกษาของบัดเลอร์และฮิวท์ (Butler and Haugh, ค.ศ.1954) ที่ทำกับกลุ่มให้คำปรึกษาและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าใน กลุ่มให้คำปรึกษามีสหสัมพันธ์ระหว่าง self-sort กับ ideal-sort = 0 แต่ในกลุ่มควบคุมมีความ สัมพันธ์เท่ากับ .58 หลังจากการให้คำปรึกษา (เฉลี่ย 31 ครั้ง/คน) ให้คนไข้ในกลุ่มนี้เลือกแผ่น ข้อความอีกครั้ง พบว่ามีสหสัมพันธ์ = .34 นัยสำคัญของการพัฒนาการมากกว่า

Content Analysis 
        ในวิธีการเลือกข้อความนั้นการที่คนไข้เลือกแผ่นข้อความที่เปลี่ยนไปถือว่าการทำจิต บำบัดนั้นได้ผล เช่น จากการศึกษาของซีแมน (Seeman, ค.ศ.1949) แสดงผลของวิธีการนี้ การวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ 16 ครั้งจากคนไข้ 10 คนที่อยู่ในระยะของการทำจิตบำบัดที่ ต่างกัน การพูดของคนไข้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1. แสดงถึงปัญหาหรืออาการ 2. ยอมรับการตอบสนองของผู้บำบัด 3. เกิดความเข้าใจและมองเห็นปัญหา 4. พูดคุยถึงเรื่อง แผนในอนาคต และยังพบอีกว่ายิ่งการบำบัดก้าวหน้าขึ้นจะพบประโยคที่แสดงถึงปัญหาหรือ สิ่งที่รบกวนจิตใจน้อยลง มีลักษณะของการยอมรับเกิดขึ้น และในการสัมภาษณ์ครั้งหลัง ๆ คนไข้แสดงให้เห็นถึงการเข้าใจปัญหาและให้คำพูดที่แสดงถึงแผนการในอนาคตมากขึ้น ซึ่ง จากการศึกษานี้เป็นการเห็นด้วยกับทฤษฏีของโรเจอร์สที่พูดถึงพื้นฐานของการเจริญเติบโต 
การบำบัด (Therapy) 
        จากทฤษฏีโรเจอร์สได้พัฒนา method of nondirective หรือ client-centered therapy ขึ้นสำหรับโรเจอร์สแล้วส่วนหนึ่งของกระบวนการในการบำบัดคือการเกิดการหยั่งรู้ขึ้น (insight) การหยั่งรู้ที่ให้คน ๆ นั้นสามารถที่จะจัดการกับปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องหรือแรงขับ บางอย่างเอาไว้ในตัวเรา (self) โรเจอร์สได้ให้ลักษณะที่สำคัญของผู้ที่ทำการบำบัดตามแบบ nondirective psychotherapy ในฐานะที่เป็นผู้ที่แสดงให้เห็นถึงเจตคติที่ อบอุ่นและเข้าใจที่ อย่างน้อยที่สุดคือการช่วยให้คนไข้มีอิสระในการที่จะแสดงออก (โรเจอร์ส, ค.ศ.1947 และ ค.ศ. 1978 หน้า 48) ผู้บำบัดไม่ใช่ผู้ที่มีอคติในสิ่งที่ผู้คนไข้พูดหรือไม่ใช่ผู้ที่มองดูพฤติกรรมคนไข้ผ่าน ทางผู้บำบัด คนที่จะตัดสินสิ่งต่าง ๆ นั้นคือพวกเขียนนิยามหรือบทกลอนเท่านั้น ซึ่งการเปิด ใจและยอมรับของผู้บำบัดโรเจอร์สเรียกว่าเป็น “unconditioned positive regard” ซึ่งโรเจอร์ส

        วิธีการ client-centered therapy คือการที่ผู้บำบัด มองดูคนไข้ เหมือนที่คนไข้มองดู ตัวเอง มองดูปัญหาด้วยตนเองซึ่งการมีความเข้าใจร่วมกับคนไข้นี้จะทำให้คนไข้เข้าใจตัวเอง (self) กับความเป็นจริง และความต้องการของตนเองจริง ๆ จุดหมายของการบำบัดคือให้คนไข้ มี self-concept หรือการที่คน ๆ ปรารถนาหรือต้องการ (ideal-self) เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด ความไม่สบายใจ 
        โรเจอร์สได้ยกตัวอย่างการทำจิตบำบัดในกรณีของโคร่า เด็กวัยรุ่นหญิงซึ่งถูกนำมา บำบัดที่ศูนย์บำบัดและนำมาศาลเยาวชน เพราะพฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตนเองไม่ได้ จาก ประวัติ แม่ของเด็กหญิงเจ็บป่วยดังนั้นพ่อเลี้ยงของเธอต้องเป็นคนรับผิดชอบดูแล ซึ่งปรากฏ ว่าบรรยากาศในบ้านตึงเครียดมาก เธอจึงถูกนำไปสถานรับเลี้ยงเด็กระหว่างกระบวนการบำบัด โคร่าเกิดความเข้าใจถึงปัญหาของเธอ โดยเริ่มจากการที่เธอเข้าใจว่าพ่อเลี้ยงมีความสนใจเธอ ในทางเพศ นั่นคือเหตุผลที่พ่อเลี้ยงหึงหวงและเธอค่อย ๆ เกิดความเข้าใจว่าพ่อเลี้ยงสนใจเธอ เพราะส่วนหนึ่งคือเธอผลักดันให้พ่อเลี้ยงเกิดความสนใจด้วย และตัวเธอเองก็ทำเหมือนกับว่า พ่อเลี้ยงเป็น แฟนเธอด้วย ซึ่งจากการที่เกิดการรับรู้และเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง โคร่า สามารถที่จะปรับบทบาทของตนเองและทราบว่าพฤติกรรมก้าวร้างต่าง ๆ ที่แสดงนั้นไม่จำเป็น ที่จะต้องแสดง เพื่อทดแทนความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 
        ลักษณะงานของจิตวิทยามนุษยนิยมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะที่มีข้อมูลที่ สนับสนุนค่อนข้างน้อย ยกเว้นบทความของ ฮาริ่งตัน บล็อกและบล็อก (Harrington, Block and Block, ค.ศ.1987) ซึ่งสนับสนุนทฤษฏีของโรเจอร์สโดยเฉพาะทฤษฏีการสร้างสรรค์ของ สิ่งแวดล้อม (theory of creative environment) ซึ่งตามทฤษฏีของโรเจอร์สกล่าวว่า คนเรา สามารถที่จะแสดงความสามารถโดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ได้ภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้ 
            1. Openess to experience หมายถึงไม่มีการไม่เปลี่ยนแปลง....ทนต่อความไม่ ชัดเจน......ความสามารถในการรับข้อมูลหรือความขัดแย้งต่าง ๆ โดยที่ไม่ปิดรับสถานการณ์ ต่าง ๆ
            2. Internal locus of evaluation หมายถึงคุณค่าหรือผลงานของคน ๆ นั้นในฐานะที่ เป็นคนสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นจากเฉพาะคำชมหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นเท่านั้น แต่ จากตัวเองด้วย 
            3. The ability to toy with elements and concepts หมายถึงสามารถที่จะเล่น (play) กับความคิด สี รูปแบบ ความสัมพันธ์หรืออื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง 
ซึ่งคนที่จะพัฒนาลักษณะเหล่านี้ได้นั้นคือคนที่ถูกเลี้ยงมาในสิ่งแวดล้อมที่ 
                1. Psychological safety คือคน ๆ นั้นมีลักษณะความเข้าใจ ร่วมในการยอมรับสิ่ง ต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไข ขณะเดียวกันจะไม่มีการประเมินจากภายนอก 
                2. Psychological freedom คือคน ๆ นั้นมีอิสระในการได้แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ 

อับบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow ค.ศ. 1908 – 1970) 
        มาสโลว์เกิดที่บรูคลิน นิวยอร์ค และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินหนังสือ ที่สำคัญของมาสโลว์ คือ Motivation and Personality (ค.ศ.1970) Toward a Psychology of Being (ค.ศ.1968) และ The Further Reaches of Human Nature (ค.ศ.1971) 
        หลังสำเร็จการศึกษาได้ไปทำงานกับธอร์นไดร์ โดยทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเพศโดยการ สัมภาษณ์ในช่วงปี ค.ศ.1935-1940 เป็นช่วงที่สำคัญของมาสโลว์ เพราะได้ไปศึกษากับเอ็ดเลอร์ และฮอร์นนาร์ย ในด้านจิตวิเคราะห์และกับโกลสตาร์ย เวอร์ไทเมอร์และคอฟก้าในด้านจิตวิทยา เกสตัลล์ และมาสโลว์ยังได้รับอิทธิพลจากนักมานุษยวิทยา รูท เบนนาดิค (Ruth Benedict, ค.ศ.1887-1948) หนังสือที่มีอิทธิพลมากคือ Patterns of Culture, ค.ศ.1935/1989) และจาก อิทธิพลของเบนนาดิค คือ synergy หรือระดับที่ความต้องการของแต่ละคนที่เกิดขึ้นตามความ ต้องการของวัฒนธรรม (สังคม) (degree to which the needs of the individual are consistent with the demands of the culture) ในสังคมที่มี synergy สูงยิ่งมีความเห็นแก่ตัวมากและ ขณะเดียวกันจะพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงการที่จะให้การช่วยเหลือผู้อื่น ในขณะที่สังคมที่มี synergy ต่ำ จะเกิดการขัดแย้งว่าวัฒนธรรมหรือสังคมต้องการให้ประพฤติอย่างไร ซึ่งมาสโลว์ ได้เกิดแนวคิดการเกิดขึ้นของ synergy ในสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในวงการธุรกิจ กองทัพหรือในมหาวิทยาลัยเป็นเหมือนความนิยมที่คนในองค์กรนั้นมีการประสานระหว่างกัน และรวมเป็นกลุ่มมากกว่าที่จะเป็นการแข่งขันกัน 

        มาสโลว์แบ่งปันแนวคิดทางบวกกับโรเจอส์ ในการมองธรรมชาติของมนุษย์ มาสโลว์ เชื่อว่ามนุษย์ได้รับมรดกศักยภาพในเรื่องของความเอื้อเฟื่อ ความรักและสุภาพอ่อนโยน แต่ทั้ง หมดนี้โดยการได้รับการดูแลโดยสิ่งแวดล้อมและสังคม แต่ถ้ามนุษย์ไปอยู่ในสังคมหรือ

ทฤษฏีแรงจูงใจ (Theory of Motivation) 
        มาสโลว์เป็นที่รู้จักจากทฤษฏีความต้องการ (theory of needs) และใช้คำว่า instinctoid ในความหมายของแรงจูงใจทั้งหลาย เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์แต่ถูกอบรมสั่ง สอนหรือสนับสนุนโดยสิ่งแวดล้อม มาสโลว์ได้แบ่งแยกระหว่าง deficiency needs และ growth needs สำหรับ deficiency needs หรือ D motives หมายถึงความต้องการอะไรก็ตามซึ่งขาด หายไปและสามารถเติมเต็มได้ด้วยสิ่งของหรือบุคคลจากภายนอก ส่วน growth needs หรือ B motives มีความเป็นตัวของตัวเองหรือมีอิสระจากสิ่งแวดล้อมและหมายถึงความต้องการที่จะ เติมเต็มศักยภาพหรือความสามารถที่มีมาแต่กำเนิด 

“Growth is in self, a rewarding and exciting process.....the fulfilling of yearning and ambitions.......the acquisition of admired skills......the steady increase of understanding about people : the development of certain creativeness in whatever field, or most important, simply the ambition to be a good human being.” (มาสโลว์, ค.ศ.1968) 
D motives ทำงานเพื่อปกป้องรักษาตนเองขณะที่ B motives หมายถึง การมีสุขภาพที่ ดีขึ้นและการทำงานในระดับสูงขึ้น มาสโลว์ได้อธิบายทฤษฏีในรูปของลำดับขั้น (hierarchy

        ลำดับต่ำสุด คือ ความต้องการทางสรีรวิทยา (ร่างกาย) ซึ่งจะรวมถึงความหิว กระหาย ความต้องการทางเพศ อากาศสำหรับหายใจ การนอนหลับ และการกำจัดของเสียออกจาก ร่างกาย ซึ่งจากตัวอย่างมาสโลว์แสดงให้เห็นว่าในลำดับนี้จะให้ความสนใจน้อยมากกับเรื่องของ ความคิดสร้างสรรค์หรือการเติมเต็ม (self-fulfillment) ความต้องการหลัก คือ อาหาร 
        ลำดับต่อมา ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัย ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากขั้นที่หนึ่งได้รับ การตอบสนองแล้ว ซึ่งในขั้นนี้ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองจะเป็นหน้าที่ของสังคมที่ จะต้องเข้ามาดูแลในรูปของสวัสดิการทางสังคม ซึ่งความต้องการความปลอดภัยจะรวมถึง การที่สังคมมีการจัดระบบที่แน่นอน มั่นคงและไม่มีความตึงเครียดหรือความกระวนกระวายใจ ต่าง ๆ เด็กจะมองหาความมั่นคง ปลอดภัยจากพ่อแม่ในการที่จะป้องกันหรือปกป้องจากสัตว์ ร้ายต่าง ๆ เสียงดังหรือแสงสว่างที่สว่างจ้า หรือในผู้ใหญ่จะซื้อประกันชีวิตเพื่อปกป้องตนเอง จากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย การสูญหายของทรัพย์สินหรือหนี้สิน ซึ่งรวมไปถึงความปลอดภัย จากการถูกบุกรุกจากคนแปลกหน้า ถ้ามีการต้องเลือกระหว่างความปลอดภัยกับการ เจริญเติบโต แน่นอนคนย่อมจะเลือกความปลอดภัยไว้ก่อน 
นอกเหนือจากความต้องการทางร่างกายและความปลอดภัยแล้ว ความต้องการความ รักและการเป็นเจ้าของก็เข้ามามีส่วนสำคัญ ซึ่งจะเป็นส่วนของ D motives ความปรารถนาที่จะ ได้รักและความรักจากครอบครัว มีเพื่อนและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงความโดด เดี่ยว ซึ่งในลำดับนี้ยังรวมถึงการต้องการคู่หู สามีหรือภริยาและการมีลูก ซึ่งการเติมเต็มของ ลำดับนี้ความต้องการนี้จะมาก่อนความต้องการเจริญเติบโต 
        ลำดับต่อมา ได้แก่ ความต้องการการยกย่อง นับถือ ซึ่งคล้ายกับแนวคิดของแอดเลอร์ ในรูปของ striving for superiority และ need for mastery ของ อิริคสัน นั่นเอง ซึ่งจะรวมถึง ความต้องการเป็นที่เคารพและเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งความต้องการในขั้นนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อความ ต้องการในลำดับต้น ๆ ได้รับในการสนองตอบแล้ว ซึ่งความต้องการนี้สามารถที่จะได้รับการ ตอบสนองหรือพึงพอใจโดยผ่านทางความสัมฤทธิผลในด้านต่าง ๆ ของชีวิต เช่น การเป็นคน เก่งทางด้านกีฬา หาเงิน (นักธุรกิจ) สร้างสรรค์งานศิลปะ ชนะคดีในศาลหรือประสบความ สำเร็จในอาชีพ เป็นต้น 
        หลังจากที่ได้รับการยกย่อง สรรเสริญแล้ว มาสโลว์ได้จัดเรื่องของความต้องการของ ความคิดไว้เป็นลำดับต่อมา ซึ่งเป็นความต้องการที่จะได้รับทราบ เข้าใจ แสวงหา อยากรู้ อยากเห็นและการคิดค้นต่าง ๆ 
        ต่อมาคือความต้องการความสวยงาม ความสุนทรีต่าง ๆ (แต่ไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุก คน) ความต้องการความสมส่วน เรียงลำดับก่อน-หลังและความงาม (ซึ่งเป็นสิ่งที่ผ่านเข้ามาทาง ประสบการณ์)และบนสุดของลำดับขั้น ได้แก่ การพัฒนาการศักยภาพของตนเอง (self – actualization) ซึ่งแนวคิดของมาสโลว์ก็เช่นเดียวกับของโรเจอร์ส ที่เน้นให้ความสำคัญกับ ความต้องการนี้ในฐานะเป็นความต้องการสูงสุดที่มนุษย์แสวงหา ซึ่งเป็นการเติมเต็มศักยภาพ ของคน ๆ นั้น อะไรที่เขาสามารถจะเป็น เขาต้องเป็น” (What a man can be, he must be) ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เฉพาะเรื่องของแต่ละบุคคล สำหรับนักดนตรี คือการแต่งเพลง สถาปนิกคือ การได้ออกแบบตึกสำคัญ ๆ นักอุตสาหกรรม ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ 
        ถึงแม้ว่ามาสโลว์จะเห็นเหมือนโรเจอร์สในความต้องการลำดับสำคัญสูงสุดนี้ แต่มาส- โลว์เห็นไม่เหมือนโรเจอร์สที่ว่าลำดับขั้นนี้จะไปถึงได้นั้น ลำดับความต้องการขั้นต้น ๆ จะต้อง ได้รับการตอบสนองก่อน มนุษย์ต้องการเหมือนกับสัตว์ในลำดับขั้นต้น ๆ (ทางสรีรวิทยาและ ความปลอดภัย) แต่ในลำดับที่สูงขึ้น (ความนับถือ การยกย่อง สรรเสริญ และการพัฒนา ศักยภาพของตนเอง) จะมีแต่ในมนุษย์เท่านั้น 
        มาสโลว์มองว่าในมนุษย์มีเพียง10% เท่านั้นที่สามารถไปถึง self-actualization หรือ fully human มาสโลว์ได้เลือกกลุ่มคนเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งขึ้นมาศึกษา ทั้งคนที่ตายแล้วและยังมี
            1. มีการรับรู้ความเป็นจริงได้มากกว่าปกติ ไม่มีอคติที่ทำให้ไม่รับรู้ความเป็นจริงและ ตัดสินบุคคลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ตรงตามที่เป็นจริง 
            2. มีการรับรู้ตนเอง เข้าใจแรงจูงใจ อารมณ์ ศักยภาพและข้อบกพร่องของตนเอง 
            3. มีความเข้าใจในปัญหาภายนอกและบ่อย ๆ ที่สามารถทำภารกิจต่าง ๆ ให้บรรลุผล สำเร็จและให้ความสนใจกับสิ่งที่เกี่ยวข้อง ศีลธรรมจริยาและปรัชญา 
            4. มีการต้องการความเป็นส่วนตัวและเป็นอิสระและสามารถดำรงความเป็นอิสระได้ อย่างดี ทำให้ต้องพึงพาผู้อื่นน้อยและเชื่อมั่นในความรู้สึก คุณค่าของตนเอง ไม่ต้องการ แสวงหาการยอมรับ รางวัลหรือทรัพย์สินจากผู้อื่น 
            5. มี “peak experience” ซึ่งสามารถอธิบายได้ในรูปของความรู้สึกสมบูรณ์แบบหรือ ปลาบปลื้ม ซึ่งอาจจะเป็นประสบการณ์จากความรัก ชื่นชมศิลปะ (ที่ยิ่งใหญ่) ภาคภูมิใจอย่าง ลึกซึ้ง ค้นพบทางวิทยาศาสตร์หรืองานสร้างสรรค์ต่าง ๆ 
            6. มีความสนใจกับสังคมและให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ต้องการ ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งความสนใจจะเป็นในลักษณะที่ไม่ใช่การเป็นเจ้าของ 
นอกจากนี้แล้วลักษณะของคนที่มี self-actualization ยังรวมถึงคนที่สามารถแยก ระหว่างความดีกับความไม่ดี มีความเสมอภาคในทุกชาติ ภาษา มีอารมณ์ขันแต่ไม่ใช่เพื่อ เป็นการเสียดสีหรือดูถูกผู้อื่น และในเรื่องของงานสร้างสรรค์ไม่ใช่แต่ในเรื่องของศิลปะเท่านั้น แต่รวมถึงการค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับหรือใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ค้นพบนั้น ๆ ได้ ด้วย 
        มาสโลว์บอกว่าเรื่องของ self-actualization ไม่ใช่เรื่องของ all-or-nothing process แต่ เป็นเรื่องของระดับ (degree) เพราะไม่มีมนุษย์คนใดที่สมบูรณ์แบบ แม้แต่คนที่มีการพัฒนา ศักยภาพ (self-actualized) ยังเป็นมนุษย์ธรรมดาที่มีความอ่อนแอ ไม่แน่นอน มีอารมณ์รุนแรง หรือทำอะไรโง่ ๆ ในบางครั้ง แต่คนที่มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองมักจะมีลักษณะพฤติ- กรรมตามที่ได้อธิบายไว้ 6 ข้อนั้นและถูกจัดว่าเป็นพวกที่มี self-actualization

ยอร์ช เอ เคลลี่ (George A. Kelly ค.ศ. 1905 – 1967) 
        สิ่งที่ทำให้เคลลี่ต่างจากนักจิตวิทยามนุษยนิยมคนอื่น ๆ ตรงที่เคลลี่เชื่อมโยงความเป็น มนุษย์กับวิทยาศาสตร์ เคลลี่ไม่ได้มองพฤติกรรมทางวิทยาศาสตร์ในฐานะที่ไม่เป็นธรรมชาติ แต่เคลลี่เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์คือต้องการที่จะ ทำนาย” (predict) และควบคุม (control) เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องเหมือนที่นักวิทยาศาสตร์ทำ เพราะฉะนั้นจิตวิทยา ของเคลลี่จึงเป็นผลของการพยายามค้นหาการเป็นวิทยาศาสตร์ของมนุษย์

                           
                        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

                 สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา(
 2553) นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์(Maslow) รอเจอร์ส(Rogers) โคมส์(Knowles) แฟร์(Faire) อิลลิช(illich) และนีล(Neil)

1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow,1962)

ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ ขั้นความต้องการางร่างกาย(physical need) ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(safety need) ขั้นความต้องกาความรัก(love need) ขั้นความต้องการยอมรับของตนอย่างเต็มที่ (self-actualization) หากความต้องการขั้นพื้นฐานดีรับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
2.มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง ประสบการณ์ที่เรียกว่า “peak experience”เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง มีลักษะน่าตื่นเต้น เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ เป็นสภาพที่สมบูรณ์ มีลักษณะผสมผสานกลมกลืน เป็นช่วงเวลาแห่งการรู้จักตนเองอย่างแม้จริง บุคคลที่มีประสบการณ์เชนนี้บ่อยๆจะสามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ข หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.เข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้ เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคล
2.จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เขาต้องการเสียก่อน
3.ในกระบวนการเรียนการสอน หากรูสามารถหาได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการอยู่ในระดับใดขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
4.การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างพอเพียง การให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง

2 ทฤษฎีการเรียนรูของรอเจอร์ส(Rogers,1969)

ก.ทฤษฎีการเรียนรู้

มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้(supportive atmosphere)และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(student-centered teaching)โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ(non-directive)และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(facilitator) และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ(process learning)เป็นสำคัญ

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ไม่น่าหวาดกลัว น่าไว้วางใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2.ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว ครูจึงควรสอนแบบชี้แนะ(non-directive) โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตน(self- directive) และคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
3.ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการ(process learning) เป็นสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไป

3 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)

ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
การคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียน การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เผ็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

4 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์(Knowles)

ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตน
3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในการเรียน รับผิดชอบร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
2. ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆของตน เข้ามาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งใหม่ ประสบการณ์ใหม่
3.ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เลือกสิ่งที่เรียนและและวิธีเรียนด้วยตนเอง
4. ในกระบวนการเรียนการสอน ครูควรเข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตน ไม่ควรปิดกั้นเพียงเพราะเขาไม่เหมือนคนอื่น
5.ในกระบวนการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเอง ลงมือกระทำ และยอมรับผลของการตัดสิใจหรือการกระทำนั้น

5 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)

ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
เปาโล แฟร์(Faire) เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the oppressed) เขากล่าวว่า ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจาการขดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
ระบบการจัดการศึกษา ควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

6 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลิส (Illich)

ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
อิวาน อิลลิช (Ivan Illich) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน (deschooling) ไว้ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
การจัดการศึกษาไม่จำเป็นต้องจัดทำในลักษณะระบบของโรงเรียนควรจัดในลักษณะที่เป็นการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตตามธรรมชาติ

7 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)

ก.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
นีล (Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีต่อตนเองและสังคม

ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน เรียนเมื่อพร้อมที่จะเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นการเน้นสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองทั้งนั้นการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เมื่อผู้เรียนพบปัญหาผู้เรียนจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้         

อ้างอิง
ดร. สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(2553).http://surinx.blogspot.com/.[online]เข้าถึงเมื่อวันที่ 10.กรกฎาคม.2561. 
มัณฑรา  ธรรมบุศย์.(...).https://sites.google.com/site/psychologymcu5/.[online]เข้าถึงเมื่อวันที่ 10.กรกฎาคม.2561. 
สยุมพร  ศรีมุงคุณ.(2553) .https://www.gotoknow.org/posts/341272 [online]เข้าถึงเมื่อวันที่ 10.กรกฎาคม.2561. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อเเละนวัตกรรม

สื่อ คำว่า “ สื่อ ” มีบทบาทสำคัญมากในสังคมยุคปัจจุบัน เพราะเป็นตัวเชื่อมโยงทั้งข้อมูลความรู้ และเชื่อมโยงการบริหารงานระหว่างผู้บังคับบัญ...